หาดเก้าเส้ง อยู่ทางตอนใต้ชายทะเลสงขลา เป็นหาดทรายที่ต่อเนื่องมาจากหาดชลาทัศน์ถึงโค้งอ่าวเล็ก ๆ ที่มีหมู่บ้านประมง แต่ภาพรวมของหาดแห่งนี้สร้างความโดดเด่นไม่น้อยกว่าที่อื่น ทั้งธรรมชาติและวิถีชีวิตที่นอกจากการยืนหยัดในด้านการประมงท้องถิ่นแล้ว ที่สำคัญยังคงเป็นแหล่งสร้างเรือกอและเรือประมงพื้นบ้านที่มีลวดลายสีสีนสวยงาม
เรือที่หาปลาที่เรียกว่า เรือกอและ คือพาหนะกู้ชีพที่ผู้คนใช้ออกหาปลาในทะเล โดยมีภูมิปัญญาในเรื่องการต่อเรือสืบทดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันเรือกอและมีลักษณะที่เด่นคือ มีลวดลายที่สวยงามมีหัวและท้ายยกขึ้นอย่างสง่างามนับวันก็เริ่มจะหายากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีเรือแบบใหม่เข้ามาทนและคนทั่วไปมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นเรือกอและ มีการพัฒนามาจากเรือกอและนั่นเองคนในชุมชนเก้าเส้งจะเรียกว่า "เรือท้ายตัด"
มีลักษณะแตกต่างจากเดิมไปบ้าง แต่ลวดลายศิลปะยังคงสวยงาม ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและเป็นศิลปะวัฒนธรรมที่สะท้อนวัฒนธรรมของชาวใต้ตอนล่างได้เป็นอย่างดี นอกจากจะใช้หาปลาแล้วเรือกอและยังมีหน้าที่ให้ความบันเทิงโดยเฉพาะในการแข่งเรือกอและ ความสง่าความจะเน้นด้วยลวดลายเป็นหลักถือว่าเป็นการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะที่มีสีสันฉูดฉาดสะดุดตา
คนในชุมชนเก้าเส้งจะผูกพันกับเรือกอและเป็นอย่างยิ่งทั้งสร้างอัตลักษณ์และค่านิยม ซึ่งยังมีความเชื่ออีกมากมายที่ยังแฝงอยู่ในสิ่งเหล่านี้ หาดใหญ่โฟกัสเคยนำเสนอความเชื่อเกี่ยวกับการไหว้แม่ย่านางเรือไปแล้ว ดังนั้นยังคงมีความเชื่ออีกที่เราอยากจะหยิบยกมานำเสนอบอกกล่าวคุณผู้อ่านกัน
ความเชื่อในการเก็บหัวเรือกอและไว้ภายในบ้าน เป็นความเชื่อมุสลิมเก้าเส้งส่วนใหญ่หัวเรือนั้นมาจากลำเรือกอและที่ไม่สามารถซ่อมได้พวกเขามีความเชื่อว่า ถ้าหากเก็บหัวเรือไว้ภายในบ้านจะเเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้แก่ครอบครัวและอาชีพประมงที่หล่อเลี้ยงชีพ ซึ่งในปัจจุบันการเก็บหัวเรือไว้ภายในบ้านมีจำนวนน้อยมาก
ความเชื่อในการปฎิบัติตนเมื่อขึ้นเรือกอและ เป็นความเชื่อที่ชาวประมงเก้าเส้งสืบทอดต่อกันมาในระยะยาว ซึ่งคนนอกพื้นที่หรือคนที่ไม่ใช่เจ้าของเรือกอและ ก็ไม่สามารถขึ้นเรือสุ่มสี่สุ่มห้าได้ ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเสียก่อน เพราะเชื่อว่ามีความขลังของแม่ย่านางเรือ ถ้าหากขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เจ้าของเรือกอและอาจจะเจ็บป่วยได้ และชาวประมงเก้าเส้งนั้นห้ามใส่รอองเท้าขึ้นเรืออีกด้วย เพราะถ้าหากคนใดคนนึงใส่รองเท้าขึ้นไม่ว่าลำใดก็ตาม พวกเขาเชื่อว่าเรือลำนั้นจะหากินไม่ขึ้น เช่นเดียวกับผู้หญิงที่มีประจำเดือน เรือลำนั้นก็จะไม่สร้างรายได้ที่ดีให้ ความเชื่อเหล่านี้ยังคงหนักแน่นมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งในปัจจุบันเองมีเรือกอและบริเวณเก้าเส้งให้เราเห็นเพียงไม่กี่ลำเท่านั้น ลักษณะก็จะตามภาพแบบรูปร่างการวางกระดูกงูนั่นเอง ( โครงเรือ ) ลำเรือจะต้องแข็งแรงและกว้างทนต่อแรงคลื่นในทะเลทาสีฉูดฉาดตามใจเขียนลายอย่างสวยงามสะท้อนวิถีชีวิตที่คุณค่าอย่างยิ่งแก่ผู้พบเห็น
ขอบคุณข้อมูลรูปภาพ : kolek-s.blogspot เรือกอและ อัตลักษณ์พื้นที่วิถีชาวเลไทย-มุสลิมเก้าเส้งสงขลา
ศาลาทวดสะบ้าย้อย ความศรัทธาสู่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวสะบ้าย้อย
15 ธันวาคม 2567 | 53ที่มา...ชื่อบ้านสำนักขาม (สะเดา)
15 ธันวาคม 2567 | 56กุโบร์บ้านท่ายาง อดีตที่ตั้งค่ายทหารรัฐปัตตานี สถานที่ฝังศพทหารในสงครามปัตตานีกับกองทัพสยาม
15 ธันวาคม 2567 | 64ชุมชนตลาดปริก(สะเดา) ศูนย์กลางของตำบลในอดีตสมัยร.5
8 ธันวาคม 2567 | 186เปิดตำนานเจ้านางสีดอกไม้กับเจ้าเมืองหลาโต๊ะเมือง ณ บ้านนาทับ (สงขลา)
8 ธันวาคม 2567 | 408รู้จัก...จับปิ้ง อาภรณ์นุ่งห่มของเยาวสตรีในอดีต
8 ธันวาคม 2567 | 127รู้หรือไม่? หาดใหญ่ปรากฎชื่อครั้งแรกในบันทึกประวัติศาตร์มาเลเซีย ก่อนปรากฎในพงศาวดารของไทย
24 พฤศจิกายน 2567 | 703พาชมตราพระปรมาภิไธยย่อ(ภปร.) และตำนานน้ำตกฉัตรวาริน จ.นราธิวาส
24 พฤศจิกายน 2567 | 208